มอเตอร์ไฟฟ้าคือเครื่องจักรที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานที่เก็บไว้หรือการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าโดยตรงให้เป็นพลังงานกลผ่านการผลิตแรงหมุน มอเตอร์แต่ละประเภทมีข้อดีที่แตกต่างกันซึ่งทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยมอเตอร์ไฟฟ้ามีสองประเภทหลักคือ:
- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC: Alternate Current)
- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC: Direct Current)
มอเตอร์ AC มีข้อดีได้แก่ :
- ความต้องการพลังงานเริ่มต้นต่ำ เพิ่มความปลอดภัย
- ควบคุมระดับกระแสเริ่มต้นและความเร่งได้
- สามารถควบคุมความเร็วและแรงบิดในแต่ละช่วงการใช้งาน
- ความทนทานสูงและอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- ความสามารถกำหนดค่าแบบหลายเฟส
- แผงควบคุมมีความซับซ้อนน้อย ดูแลบำรุงรักษาง่าย
- อาศัยการปรับความถี่ของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (frequency) เพื่อปรับความเร็วในการเปิด-ปิดของประตู อาจทำได้ไม่แม่นยำนัก
- ราคาโดยทั่วไปต่ำกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบ DC ในรุ่นเดียวกัน
มอเตอร์ DC มีข้อดีได้แก่ :
- การติดตั้งและบำรุงรักษาที่ง่าย
- กำลังสตาร์ทและแรงบิดสูง
- เวลาตอบสนองที่รวดเร็วในการสตาร์ท หยุด และเร่งความเร็ว
- มีจำหน่ายในแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานหลายแบบ
- แผงควบคุมมักมีฟังก์ชั่นการใช้งานและตั้งค่าได้หลายรูปแบบ
- ปรับความเร็วของประตูได้ง่ายโดยการควบคุมกระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วหรือชะลอความเร็วของประตูได้ง่ายและแม่นยำ
- เกิดความร้อนสะสมระหว่างการใช้งานน้อย ทำให้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้นาน เหมาะสำหรับประตูที่มีความถี่การใช้งานสูง
- สามารถติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง เพื่อให้ประตูสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องแม้เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องได้
มอเตอร์แบบไหนแรงกว่ากัน ระหว่าง AC กับ DC ?
โดยทั่วไปแล้ว มอเตอร์ AC มักจะมีกำลังมากกว่ามอเตอร์ DC เนื่องจากสามารถสร้างแรงบิดได้สูงกว่าโดยใช้กระแสที่แรงกว่า อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปมอเตอร์กระแสตรงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าและใช้พลังงานรับเข้าได้ดีกว่า มอเตอร์ทั้งแบบ AC และ DC ต่างก็มีหลายขนาดและกำลังที่สามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลาย
เลือกมอเตอร์แบบไหนดี ระหว่าง AC กับ DC ?
หากต้องการความประหยัดคุ้มค่า หรือในกรณีประตูขนาดใหญ่/ประตูบางรูปแบบที่ต้องการกำลังมากเป็นพิเศษ มอเตอร์ AC เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ส่วนมอเตอร์ DC ที่ราคาสูงขึ้น จะได้ข้อดีในเรื่องลูกเล่นการใช้งานและความแม่นยำ
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว